อ.เกรียงศักดิ ์ โพยมร ัตน์ สาขานิ ตศ ิ าสตร ์ презентация

Содержание

Слайд 2

ภาค 1 บททั่วไป
ภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น

ขอบเขตเนื้อหา

Слайд 3

คู่ความ
คู่ความร่วม
ทนายความ
ผู้รับมอบฉันทะ
คำฟ้อง

Слайд 4

คู่ความร่วม

Слайд 5

คดีมีข้อพิพาทที่มีบุคคลหลายคนถูกโต้แย้งสิทธิ
หรือหน้าที่ หรือกรณีที่บุคคลหลายคนเป็นผู้โต้แย้ง
สิทธิหรือหน้าที่แก่บุคคลอื่น บุคคลดังกล่าวอาจ
เป็นคู่ความร่วมในคดีเดียวกันมาตั้งแต่ที่มีการเสนอ
คดีต่อศาลไม่ว่าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมก็ได้

คู่ความร่วม (มาตรา 59)

Слайд 6

บุคคลหลายคนจะต้องมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความ
แห่งคดี แม้จะไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในผลแห่งคดีก็ตาม
แต่ถ้าเป็นการชำระหนี้ที่แบ่งแยกกันชำระไม่ได้ ถือว่าบุคคล
เหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีเสมอ
การเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมกัน จะต้องฟ้องเป็นสำนวนคดี
เดียวกัน โดยโจทก์ทุกคนร่วมกันทำคำฟ้องมาฉบับเดียว ส่วนจำเลย
ร่วมกันทุกคนจะร่วมกันยื่นคำให้การมาฉบับเดียว หรือแต่ละคนจะ
แยกทำคำให้การมาเฉพาะส่วนของตนก็ได้

หลักเกณฑ์การที่จะเป็นคู่ความร่วม

Слайд 7

จำเลยคนเดียวหรือหลายคนกระทำละเมิดโจทก์คนเดียว
หรือหลายคน
เจ้าของรวมหลายคน
ลูกหนี้ร่วมหลายคน
ผู้กู้กับผู้ค้ำประกัน
ผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย
นายจ้างลูกจ้าง ฯลฯ

ตัวอย่างการมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี

Слайд 8

1. กรณีที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยก
จากกันได้
คู่ความเหล่านั้นย่อมไม่แทนซึ่งกันและกัน การกระทำ
ของคู่ความร่วมคนใดหรือต่อคู่ความร่วมคนใดย่อมเป็น
คุณและโทษเฉพาะคู่ความร่วมคนนั้น

ผลของการเป็นคู่ความร่วม แบ่งออกเป็น 2 กรณี

Слайд 9

2.1 กระบวนพิจารณา (ดูมาตรา 1(7) “กระบวนพิจารณา” )
ซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ถือว่าได้ทำโดยหรือทำ
ต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วม
คนหนึ่งกระทำไปนั้นเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ย่อมไม่มีผลถึงคู่ความร่วมคนอื่น

ๆ ด้วย

2. กรณีที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้

Слайд 10

ตัวอย่าง ที่ถือว่ากระบวนพิจารณาที่กระทำไปนั้น เป็นที่เสื่อมเสีย
แก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ
คำพิพากษาฎีกา 382/2506 คำให้การของจำเลยที่ 1 ที่
ยอมรับผิดตามฟ้อง ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2

ด้วย
คำพิพากษาฎีกา 1713-1714/2523 คู่ความบางคนตกลงท้า
กัน ก็ไม่ผูกพันคู่ความคนอื่นที่ไม่ได้ตกลงด้วย

Слайд 11

ตัวอย่าง ที่ถือว่ากระบวนพิจารณาที่กระทำไปนั้น ไม่เป็นที่เสื่อม
เสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ
คำพิพากษาฎีกา 5264/2549 จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2

ซึ่ง
ขาดนัดยื่นคำให้การหรือยื่นคำให้การแต่ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมด้วย กรณีเช่นนี้ถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย เพราะไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 2

Слайд 12

ข้อพิจารณา : ให้ดูว่าเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกัน
ได้หรือเป็นกรณีที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ เพราะมีผลต่างกัน
กรณีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันได้ (ดู ป.พ.พ. มาตรา 295)
หลัก : การที่ลูกหนี้ร่วมถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกัน

ถ้าลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ ไม่ถือว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย (ถือว่าเป็นเหตุส่วนตัว)

ปัญหาเรื่องอายุความกรณีคู่ความร่วม

Слайд 13


คำพิพากษาฎีกา 4715/2530 จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้
เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของ
จำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความ
ด้วยไม่ จำเลยที่

1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาฎีกา 480/2506 จำเลยหลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
ต่อโจทก์ แต่จำเลยคนหนึ่งแต่ผู้เดียวเป็นผู้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาล
จะนำการยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจำเลยผู้นั้นมาเป็นมูลยกฟ้อง
สำหรับจำเลยอื่นที่ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้

Слайд 14

กรณีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้
หลัก : ในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกัน และหนี้นั้น
เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ ย่อมถือว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นที่ไม่ได้ให้การถึงเรื่องอายุความ รวมถึงลูกหนี้ร่วมที่ขาดนัดยื่นคำให้การได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความนั้นด้วย (ถือว่าเป็นเหตุในลักษณะคดี) (ดู ป.วิ.แพ่ง มาตรา

245(1) และมาตรา 247 )

Слайд 15

คำพิพากษาฎีกา 351/2510 โจทก์ฟ้องให้จำเลยร่วมกันส่ง
มอบช้างคืน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกัน
ไม่ได้ การที่จำเลยคนหนึ่งยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ถือว่า
จำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยอื่นจึงได้รับผลแห่งอายุความด้วย

Слайд 16

คำพิพากษาฎีกา 914/2538 จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม มูล
ความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกัน เมื่อปรากฏว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามที่จำเลยที่ 2

ฎีกาแม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ด้วย ตาม ป.วิ. แพ่ง มาตรา 245(1) , 247

Слайд 17

ทนายความ
ผู้รับมอบอำนาจ
ผู้รับมอบฉันทะ

Слайд 18

ใบอนุญาตเลขที่ 1086/2541

Слайд 19


คู่ความจะดำเนินคดีเอง
โดยไม่ตั้งทนายความได้หรือไม่

Слайд 20


มาตรา 60

Слайд 21

มาตรา 61 การตั้งทนายความนั้น ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน ใบแต่งทนายนี้ให้ใช้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่ง ๆ ตามที่ได้ยื่นไว้เท่านั้น เมื่อทนายความผู้ใดได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะแทนบุคคลอื่นไม่ว่าในคดีใด ๆ ให้ทนายความผู้นั้นแสดงใบมอบอำนาจทั่วไป แล้วคัดสำเนายื่นต่อศาลแทนใบแต่งทนาย เพื่อดำเนินคดีเป็นเรื่อง ๆ

ไปตามความในมาตรานี้

การตั้งทนายความ

Слайд 22

1. ในแต่ละคดีไม่จำเป็นต้องมีทนายความก็ได้ หากตัว
ความสามารถความรู้ความสามารถที่จะดำเนินคดีได้ด้วย
ตนเอง
2. ในกรณีที่ตัวความประสงค์จะตั้งทนายความ ต้องทำ
ใบแต่งทนายตามแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้ ลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลรวมไว้ในสำนวน

ข้อพิจารณา

Слайд 23

3. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดี สามารถลงชื่อในใบแต่งทนายความได้ ไม่ถือว่าเป็นการมอบอำนาจช่วง (ฎีกา 247/2550)
4. ในกรณีผู้รับมอบอำนาจมีอาชีพเป็นทนายความอยู่แล้ว จะทำใบแต่งทนายความตั้งตนเองเป็นทนายความในคดีก็ได้ (ฎีกา 4929/2549)
5. ใบแต่งทนายความให้ใช้ได้เฉพาะคดีใดคดีหนึ่งเท่านั้น และให้ใช้ได้เฉพาะสำหรับคู่ความและทนายความคนหนึ่งเท่านั้น กรณีคู่ความหลายตนตั้งทนายความคนเดียวกันต้องแยกทำใบแต่งทนายคนละใบ
6

.กรณีที่พนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความ (เฉพาะคดีแพ่ง)ต้องทำใบแต่งทนายความในคดีนั้น ๆ ด้วย

Слайд 24


ดู ป.วิ.แพ่ง มาตรา 62

อำนาจของทนายความ

Слайд 25

1. ทนายความมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลแทนตัวความตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาประโยชน์ของตัวความ แต่ถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อยจะมอบฉันทะให้ผู้อื่นทำแทนตนก็ได้ (ฎีกา 321/2503 (ประชุมใหญ่)
2. ทนายความไม่ใช่ตัวความ ทนายความจึงแต่งตั้งผู้อื่นให้เป็นทนาย
ความไม่ได้จะต้องให้ตัวความแต่งตั้งทนายความอีกคนหนึ่งให้ทำหน้าที่ร่วมกับตนหรือแยกกันก็ได้

ข้อพิจารณา

Слайд 26

3. ทนายความมีอำนาจลงลายมือชื่อในคำคู่ความ คำร้อง คำขอ
หรือคำแถลง
4. การแถลงรับข้อเท็จจริงในศาล ทนายความย่อมมีอำนาจ
กระทำได้และผูกพันตัวความ
5. การส่งคำคู่ความหรือเอกสาร จะส่งไปยังทนายความก็ได้
6. ในคดีที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ ทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจ
ดำเนินคดีในส่วนของฟ้องแย้งได้โดยไม่จำต้องทำใบแต่งทนายความในส่วนของฟ้องแย้งอีก

Слайд 27

7 . ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากตัวความ ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีใน
ชั้นบังคับคดีโดยไม่ต้องทำใบแต่งทนายความใหม่อีก (ฎีกา 272/2533)
8. ทนายความจะดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของ
ตัวความไม่ได้ ใน 6 กรณี เว้นแต่ ในใบแต่งทนายความจะระบุให้มีอำนาจ คือ
-

การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง
- การถอนฟ้อง
- การประนีประนอมยอมความ
- การสละสิทธิ
- การใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา
- การขอให้พิจารณาคดีใหม่

Слайд 28


ดู ป.วิ.แพ่ง มาตรา 65

การพ้นจากหน้าที่ทนายความ

Слайд 29

1. ตามมาตรา 65 เป็นกรณีที่ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งประสงค์ถอนตนเองจากการเป็นทนายความในคดีนั้น
2. ในกรณีที่ตัวความประสงค์จะถอนทนายความ ใช้หลักกฎหมายตัวการตัวแทนทั่วไป เพราะการตั้งทนายความถือว่าเป็นการตั้งตัวแทนอย่างหนึ่ง (ฎีกา789/2550)
3. ทนายความจะถอนตัวได้จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล จึงต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาต การที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตได้จะต้องเป็นที่พอใจว่าทนายความได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว เว้นแต่จะหาตัวความไม่พบ

ข้อพิจารณา

Слайд 30

4. ในกรณีที่ทนายความยื่นขอถอนตัวโดยที่ตัวความไม่ทราบ ศาลจะ
อนุญาตให้ทนายความถอนตัวไม่ได้ จึงต้องถือว่าทนายความยังคงมีฐานะ
ทนายความอยู่ ต้องว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป (ฎีกา
3901/2532)
5. ศาลจะอนุญาตให้ถอนตัวได้ต่อเมื่อกรณีมีเหตุผลอันสมควร ถ้าไม่มีเหตุอันสมควรศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ให้ถอนตัวก็ได้ เช่น ทนายความมีเจตนาประวิงคดี (ฎีกา 696/2538)

Слайд 31

6. ทนายความเป็นตัวแทนของตัวความ ถ้าตัวความถึงแก่ความ
ตายสัญญาตัวแทนย่อมระงับไป แต่ทนายความยังคงมีอำนาจและ
หน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวความต่อไป
ได้จนกว่าทายาทของตัวความจะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของตัว
ความตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 กรณีตัวความตายหลังจากศาลชั้นต้น
มีคำพิพากษา ทนายความย่อมมีอำนาจลงนามในฐานะทนายความ
ในคำฟ้องอุทธรณ์แทนตัวความได้ (ฎีกา 789/2550)

Слайд 32


คำฟ้อง

Слайд 33

คำฟ้องเริ่มต้นคดีมีความสำคัญอย่างมากเพราะจะเป็นฐานและ
กำหนดขอบเขตที่จะใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนคดีถึงที่สุด เนื่องจากคำฟ้องเป็นการเสนอข้อหาซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 172

ความเข้าใจเบื้องต้น

Слайд 34

ข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องและจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ
หรือปฏิเสธไม่ชัดแจ้ง ถือว่าข้อเท็จจริงนั้นจำเลยได้ยอมรับแล้ว
จึงฟังเป็นยุติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84
คำให้การของจำเลยที่จะยกเป็นข้อต่อสู้ จะต้องเป็นการยอมรับ
หรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ตามคำฟ้อง จะให้การนอกกรอบ
ของคำฟ้องไม่ได้

ความสำคัญของคำฟ้อง

Слайд 35

การขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจะทำได้เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
พอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา180 จะเพิ่มเติมประเด็นนอกเหนือจากฟ้องเดิมไม่ได้
ในการชี้สองสถาน ศาลจะต้องนำคำฟ้องมาเปรียบเทียบกับคำให้
การและกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 182
ศาลจะต้องพิจารณาพิพากษาคดีตามประเด็นที่โจทก์กล่าวมาใน
คำฟ้องทุกข้อ และจะพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
ไม่ได้ (เว้นแต่จะเป็นคดีผู้บริโภค)

Слайд 36

ในกรณีที่จำเลยจะฟ้องแย้งโจทก์ ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวข้องกับ
ฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม , 179 วรรคท้าย
ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำฟ้องแล้ว โจทก์หรือจำเลยย่อมยกขึ้น
อุทธรณ์หรือฎีกาได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง

มาตรา 225 และ 249 เว้นแต่จะ
เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 142 (5)

Слайд 37

คำฟ้องเป็นคำคู่ความตามมาตรา 1 (3) ดังนั้น รูปแบบของคำฟ้อง
จึงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม ป.วิ.แพ่ง ภาค 1 หมวด 5 เรื่อง
รายงานและสำนวนความ ตามมาตรา

46

รูปแบบของคำฟ้อง

Слайд 38

การเสนอข้อหาเป็นคดีมีข้อพิพาท ป.วิแพ่ง มาตรา 172 บังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ
ดังนั้นโจทก์จะต้องแสดงหรือกล่าวถึงรายละเอียดโดยบรรยายฟ้องตามบทบัญญัติกฎหมายสารบัญญัติถึงเหตุที่มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ที่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลย
ถ้าฟ้องของโจทก์สมบูรณ์แล้ว ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามคำฟ้องหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานตามกฎหมายลักษณะพยานต่อไป

การบรรยายฟ้อง

Слайд 39

ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก
ส่วนต้น เป็นรายละเอียดที่แสดงถึงตัวโจทก์และจำเลย
ส่วนกลาง เป็นใจความที่แสดงถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา
ส่วนท้าย เป็นคำขอบังคับที่จะขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับจำเลย ผู้เรียงและผู้เขียนหรือพิมพ์ และลายมือชื่อ

รายการในคำฟ้อง

Слайд 40

ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 กำหนดว่าโจทก์และจำเลยต้องเป็น
บุคคล ซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล รวมทั้ง
ตำแหน่งตามหน้าที่ราชการก็เป็นโจทก์หรือจำเลยได้

1. ส่วนต้น (รายละเอียดเกี่ยวกับโจทก์และจำเลย)

Слайд 41

ป.วิ.แพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง กำหนดว่า คำฟ้องต้อง
แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างอันอาศัยเป็น
หลักแห่งข้อหา ซึ่งก็จะต้องบรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งพอ (ไม่
เคลือบคลุม) ที่จะให้จำเลยเข้าใจว่าถูกฟ้องเรื่องอะไรจะได้
แก้ข้อหาได้อย่างถูกต้อง เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้
คดีได้อย่างเต็มที่

2.ส่วนกลาง (ใจความของคำฟ้อง)

Слайд 42

การบรรยายฟ้องคดีแพ่งเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริง จึงไม่
จำเป็นต้องใช้ถ้อยคำในกฎหมาย ทั้งไม่ต้องระบุกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง หรือที่ขอให้บังคับเหมือนอย่างคดีอาญา (ฎีกา
7767/2543) เพราะเป็นเรื่องที่ศาลรู้ได้เอง
แต่ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎกระทรวง มิใช่กฎหมาย
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกล่าวถึงหรือแนบติดมาท้ายฟ้อง (ฎีกา


542/2546)

ข้อสังเกตที่สำคัญ

Слайд 43

กฎหมายต่างประเทศ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องกล่าวมาในคำฟ้อง (ฎีกา 447/2540)

Слайд 44

เป็นส่วนที่โจทก์แสดงให้เห็นถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย
แพ่งที่โจทก์มีอยู่อันเป็นฐานที่จะกล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่นั้นอย่างไร เช่น
คำพิพากษาฎีกา 347/2521 ฟ้องขอให้เปิดทางภาระ
จำยอม สภาพแห่งข้อหาคือที่ดินของโจทก์ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินของจำเลยมาอย่างไร

2.1 สภาพแห่งข้อหา

Слайд 45

คำพิพากษาฎีกา 53/2530 ฟ้องเรียกค่านายหน้า
สภาพแห่งข้อหาคือ ต้องระบุว่าตนเป็นผู้ชี้ช่องอย่างไร
สำเร็จกี่ราย
คำพิพากษาฎีกา 2525/2545 ผู้ทรงเช็คฟ้องให้ผู้
สั่งจ่ายรับผิดตามเช็ค สภาพแห่งข้อหาคือ ผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็ค
คำพิพากษาฎีกา

596/2531 ผู้ค้ำประกันฟ้องไล่เบี้ยเรียก
เงินคืนจากลูกหนี้ชั้นต้น สภาพแห่งข้อหาคือ ผู้ค้ำประกันได้
ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้วจำนวนเท่าใด

Слайд 46

คำพิพากษาฎีกา 821/2515 (ประชุมใหญ่)
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่จำต้อง
กล่าวในฟ้องว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด
แม้ตามข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุ
ความแล้วก็ตาม

ข้อสังเกต : ในเรื่องของอายุความ

Слайд 47

เป็นส่วนที่แสดงถึงการกระทำที่เป็นมูลให้จำเลยต้อง
รับผิดหรือเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
แพ่ง
ซึ่งจะต้องสอดคล้องกันกับสภาพแห่งข้อหา เช่น
ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ต้องตามความประ
สงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ หรือลูกหนี้กระทำผิดสัญญา
หรือกระทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้

2.2 ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา

Слайд 48

เป็นส่วนที่แสดงความประสงค์ของโจทก์ที่จะขอให้
ศาลพิพากษาบังคับจำเลย ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะการฟ้องคดีมีข้อพิพาทจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยมีคำพิพากษา

3. คำขอบังคับและการลงลายมือชื่อท้ายฟ้อง

Слайд 49

คำขอบังคับจะต้องคำนึงด้วยว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้ขอ
บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213
หรือไม่
คำขอบังคับจะต้องเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลย จะมีคำ
ขอบังคับแก่บุคคลภายนอก หรือมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
ไม่ได้ (ฎีกา 3429/2535)
คำขอบังคับจะต้องเป็นการขอบังคับเพื่อประโยชน์แก่โจทก์
จะขอบังคับให้เป็นประโยชน์แก่โจทก์คนอื่นที่เป็นโจทก์ร่วมหรือ
บุคคลภายนอกไม่ได้

หลักเกณฑ์ที่สำคัญ

Слайд 50

กรณีที่ฟ้องจำเลยหลายคนเป็นจำเลย อาจขอบังคับให้จำเลยทุกคนร่วมกันชำระหนี้ให้โจทก์ หรือแต่ละคนรับผิดไม่เท่ากัน หรือแตกต่างกัน หรือแยกกันรับผิดก็ได้
โจทก์ต้องมีคำขอบังคับได้เพียงเท่าที่สิทธิของตนมีอยู่ตามกฎหมาย หากมีคำขอเกินสิทธิที่ตนมีอยู่ ศาลไม่สามารถพิพากษาให้ได้ (ฎีกา 5983/2531)

Слайд 51

ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ได้ และมีอำนาจเรียงคำฟ้องได้ด้วย ถ้าเรียงคำฟ้องเองก็สามารถลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงได้ (ฎีกา 2947/2516 (ประชุมใหญ่))
ทนายความมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ได้ โดยไม่
ต้องมีใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีต่างหาก (ต่างจากคดีอาญา
ทนายความไม่สามารถลงลายมือชื่อท้ายฟ้องเป็นโจทก์ได้
ต้องให้ตัวความหรือผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ลงลายมือชื่อ)

การลงลายมือชื่อท้ายฟ้อง

Слайд 52

คำฟ้องนอกจากจะต้องมีข้อความครบถ้วนทุกส่วนตาม ป.
วิ.แพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง คือสภาพแห่งข้อหาของโจทก์
ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับแล้ว ใน
การบรรยายฟ้องจะต้องมีข้อความที่ชัดแจ้งเพียงพอที่จะให้
เข้าใจได้ด้วย หลายคดีจำเลยมักจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่าฟ้อง
โจทก์เคลือบคลุม ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัย เพราะถ้าฟ้องโจทก์
เคลือบคลุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

ฟ้องเคลือบคลุม

Слайд 53

คำว่า “ ฟ้องเคลือบคลุม” ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่
เป็นภาษาที่นักกฎหมายใช้เรียกกัน หมายถึง ฟ้องที่ไม่ชัดแจ้ง
พอที่จะให้เข้าใจได้
ฟ้องเคลือบคลุม เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ไม่ใช่ข้อกฎหมาย
เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.แพ่ง
มาตรา

142(5) (ฎีกา 914/2513 (ประชุมใหญ่) ) ดังนั้นศาล
หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ
ไม่ได้ (ฎีกา 1972/2530)

ข้อพิจารณา

Слайд 54

หลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่
ต้องพิจารณาจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นหลัก โดยไม่
ต้องพิจารณาว่าจำเลยจะหลงข้อต่อสู้หรือไม่ เพราะคำฟ้อง
เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับคำให้การ แม้จำเลยจะให้การ
รับตามฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ชอบด้วย
กฎหมายขึ้นมาได้ (ฎีกา 3996/2546)
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องหลายข้อหา ฟ้องเคลือบคลุมอาจจะเป็น
เฉพาะบางข้อหาก็ได้ ไม่ทำให้คำฟ้องทั้งหมดเสียไป เมื่อข้อ


หาใดเคลือบคลุมศาลจะยกฟ้องเฉพาะข้อหานั้น (ฎีกา 551/2524)

ข้อพิจารณา

Слайд 55

(1) คำฟ้องไม่แจ้งชัดว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิใด เช่น
- ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับผู้ตายอย่างไร อันจะมีผลทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย (ฎ.2874/2550)
- ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัย แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องเชื่อมโยงไปว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย (กรณีผู้กระทำละเมิดไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย) และบุคคลอื่นที่กระทำละเมิดมีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยอย่างไร (ฎ.439/2541)

ตัวอย่างฟ้องเคลือบคลุม

Слайд 56

(2) เนื้อหาคำฟ้องไม่สมบูรณ์
- การรับสภาพหนี้ที่ไม่ได้บรรยายความเป็นมาแห่งมูลหนี้เดิม (ฎ.8059/2556) (ถ้าโจทก์ไม่ได้บรรยายหนี้เดิมมาให้ชัดแจ้ง ย่อมเป็นฟ้องเคลือบคลุม)

ตัวอย่างฟ้องเคลือบคลุม

Слайд 57

(3) ข้อเท็จจริงไม่แจ้งชัด
- ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร และกระทำผิดต่อกฎหมายประการใด (ฎ.5779/2539)
- ฟ้องผู้ค้ำประกัน หากบรรยายฟ้องระบุหนี้เงินต้นและหนี้ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ 2 ฉบับ รวมกันมาและเอกสารท้ายฟ้องก็ไม่ได้แยกหนี้ตามสัญญากู้แต่ละฉบับออกจากกัน จำเลยที่ 5 ผู้ค้ำประกันสัญญากู้ฉบับเดียวย่อมไม่ทราบว่าหนี้ที่ตนต้องรับผิดมีเพียงใด

เป็นฟ้องเคลือบคลุม (ฎ.5132/2542)

ตัวอย่างฟ้องเคลือบคลุม

Слайд 58

(4) เนื้อหาขัดแย้งกัน (สภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาขัดแย้งกัน หรือขัดแย้งกับคำขอบังคับ)
เช่น
- สภาพแห่งข้อหาขัดแย้งกัน เช่น กล่าวอ้างว่าเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะผู้ตายไม่ได้ทำขึ้นและลายมือชื่อไม่ใช่ของผู้ตาย แต่หากศาลฟังได้ว่าเป็นลายมือชื่อของผู้ตายจริง พินัยกรรมนั้นก็ไม่สมบูรณ์ = ฟังได้ 2

นัยคือ พินัยกรรมปลอม หรือ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ (ฎ.51/2487) // ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใดเลย ถึงแม้ผู้ตายจะได้ทำพินัยกรรมไว้จริง ก็เป็นโมฆะ (ฎ.493/2495)

ตัวอย่างฟ้องเคลือบคลุม

Слайд 59

(5) บรรยายฟ้องไม่เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติ
- คดีเช็ค ต้องบรรยายว่าโจทก์รับเช็คอย่างไร และเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไร แล้วจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายต้องรับผิด แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องบรรยายว่าจำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ใดแก่โจทก์ เพราะสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
- คดีฟ้องแบ่งแยกที่ดิน แบ่งแยกแล้วขนาดเนื้อที่จะกว้างเท่าใดไม่ต้องกล่าว เพราะเป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา
-

ฟ้องเรียกผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ต้องบรรยายว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในหนี้ใด หนี้อะไร จำนวนเท่าใด เหตุใดที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
- ฟ้องเรื่องทางสาธารณะ ทางภารจำยอม หรือทางจำเป็น บรรยายรวมกันมาได้ในคำฟ้อง แต่ต้องแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดแจ้งมาในทุกข้อหาว่า เป็นทางสาธารณะ ทางภารจำยอม หรือทางจำเป็นเพราะเหตุใด

ตัวอย่างฟ้องเคลือบคลุม

Слайд 60

1. ฟ้องเคลือบคลุมไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้
เพราะฉะนั้นจำเลยต้องยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคุลมอย่างไร
หากจำเลยไม่ยกข้อต่อสู้ จะยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไปอุทธรณ์/ฎีกาไม่ได้
เพราะไม่ได้เป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

ข้อสังเกต

Слайд 61

2. หากศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ก็ฟ้องใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และศาลจะไม่สั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์
3. คำฟ้องที่เคลือบคลุมจนศาลไม่สามารถบังคับให้ได้เลย เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เช่น ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า ซื้อที่ดินมาจาก ส แสดงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินเอง

ไม่ใช่ที่ดินของผู้อื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แต่คำขอบังคับ ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลไม่สามารถพิพากษาให้ได้ เพราะข้อเท็จจริงที่บรรยายมากับคำขอบังคับขัดแย้งกันเอง (ฎ.10849/2558)

ข้อสังเกต

Слайд 62

เวลาและสถานที่
บุคคล
ทรัพย์สิน
เอกสาร
สัญญา
การกระทำ
ความเสียหาย

เหตุที่จะทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม

Слайд 63

คำฟ้องเป็น “คำคู่ความ” ตามมาตรา 1(5) เมื่อโจทก์ยื่น
ฟ้องแล้ว ศาลจะใช้อำนาจตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 และ
มาตรา 172

วรรคสาม ตรวจดูคำฟ้องว่าจะรับไว้พิจารณาได้
หรือหรือไม่ ซึ่งเรียกว่า “ ชั้นตรวจฟ้อง ”

การตรวจคำคู่ความ

Имя файла: อ.เกรียงศักดิ-์-โพยมร-ัตน์-สาขานิ-ตศ-ิ-าสตร-์.pptx
Количество просмотров: 14
Количество скачиваний: 0